Search
Close this search box.

Shopee

Shopee จากการเปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี 2015 มาวันนี้ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “Shopee” ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการช็อปปิ้งในชีวิตประจำวันของใครหลายคนไปแล้ว Netflix และนี่ยังเป็น E-commerce ที่เติบโตเร็วที่สุดในอาเซียนด้วย!!Shopee ปั้นองค์กรอย่างไรกันแน่? สู่การปฏิวัติช็อปปิ้งออนไลน์ของผู้คนน้องเล็กของตระกูลShopee เป็นบริษัทย่อยหนึ่งในเครือบริษัท SEA Group (บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในสิงคโปร์) ถูกก่อตั้งขึ้นที่สิงคโปร์เมื่อปี 2015 โดยคุณ Forrest Li Spotify

Shopee เป็นบริษัทระดับภูมิภาคมาตั้งแต่จุดเริ่มต้น ที่เปิดตัวพร้อมกันใน 7 ประเทศในแถบอาเซียน ได้แก่ สิงคโปร์ / ไทย / มาเลเซีย / เวียดนาม / อินโดยนีเซีย / ฟิลิปปินส์ / ไต้หวัน(ปัจจุบัน Twitch กำลังขยายไปสู่ประเทศในกลุ่มละตินอเมริกา)

เริ่มแรกวางตัวเองเป็น E-commerce แบบ C2C (Consumer to Consumer) ก่อนขยายรวมไปถึง B2C (Business to Consumer) แบบทุกวันนี้ นี่คือตลาดที่รวมผู้ซื้อ-ผู้ขายให้มาเจอกันช่วงแรก Shopee ใช้กลยุทธ์ “เผาเงิน” ลงทุนสร้างการรับรู้มหาศาลทุกช่องทาง ออกโปรโมชั่นพิเศษ ลดแลก แจกแถม เพื่อดึงดูดให้มี “ผู้ใช้งาน” มากที่สุด Netflix

หนึ่งในสาเหตุที่ทำแบบนี้ได้เพราะ เครือ SEA Group (ซึ่งก็รวมถึง Shopee ด้วย) มี Tencent บริษัทยักษ์ใหญ่ของจีนเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ ด้วยผู้สนับสนุนยักษ์ใหญ่ “สายป่านยาว” ทำให้ Shopee มีเงินทุนแบกรับค่าใช้จ่ายช่วงแรกตรงนี้ได้นั่นเอง Twitch

User Experience

Shopee ตั้งแต่ Day1 Shopee โฟกัสเรื่องประสบการณ์ผู้ใช้งานมาก ทำยังไงให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการแล้วรู้สึกประทับใจ สนุก ผ่อนคลาย อยากกลับมาใช้อีกเรื่อยๆShopee ออกแบบ UX/UI ให้เป็น “Mobile-Friendly” ตั้งแต่แรก เพราะรู้ว่านี่คือช่องทางหลัก (เกือบ 100%) ที่คนส่วนใหญ่จะใช้งาน

ที่น่าสนใจคือ “User” ในที่นี้ Shopee หมายถึง “ผู้ขาย” เช่นกัน เป็นเจ้าแรกที่ทำ “Shopee Guarantee” ถ้าเงินผู้ใช้งานเข้ามาในระบบ แล้วสุดท้ายเกิดข้อผิดพลาดไม่ว่าอะไรก็ตาม ผู้ใช้งานสามารถเรียกคืนเงินกลับมาได้ เป็นการสร้างความมั่นใจในช่วงแรกของตลาดที่ผู้คนยังไม่คุ้นเคยช็อปปิ้งออนไลน์ Spotify

ซึ่งต่อมา เกิดระบบนิเวศน์มากมาย เช่น

Shopee Chat – ผู้ซื้อขอคุยกับผู้ขายก่อนชำระเงินได้
Shopee University – ศูนย์การเรียนรู้ผู้ขาย ให้ความรู้ฝั่งผู้ขายว่าต้องทำอย่างไรบ้าง
Shopee Mall – ตอบโจทย์ผู้ซื้อที่ต้องการของแบรนด์เนมใหญ่
Shopee Credit – ให้วงเงินผู้ใช้งาน ผ่อนชำระแบบคิดดอกเบี้ย Netflix

รวมถึงหลากหลายแคมเปญ เช่น สรรหาการจัด “โปรโมชั่น” พิเศษตลอดทั้งปี

“11.11” ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน แคมเปญลดราคาครั้งใหญ่
“9.9” ณ วันที่ 9 กันยายน Super Shopping Day
“Flash Sale” ลดหนักมากในเวลาจำกัด Spotify

ทำให้ผู้บริโภคตื่นตัว เกิดการมีส่วนร่วม เกิดการบอกปากต่อบอก รอคอยวันสำคัญนั้น เมื่อผู้คนซื้อของมากขึ้น Shopee ก็รายได้เพิ่มขึ้นตาม เพราะ “รายได้หลัก” ของ Shopee มาจากค่าธรรมเนียมซื้อขาย & ค่าโฆษณาบนแพลตฟอร์ม นั่นเอง

Shopee ตั้งเป้าหมายตัวเองแต่แรกแล้วว่า ตั้งใจเป็น “Everyday App” กล่าวคือ

ไม่ต้องรอให้ลูกค้าอยากซื้ออะไรก่อน…ถึงค่อยเปิดแอป ขอเพียงแค่เค้าว่างๆ เบื่อๆ…ก็สามารถกดเปิดแอปได้เลย Twitchผ่านฟีเจอร์อย่าง Shopee Feed / Shopee LIVE / การเก็บสะสม Coin ต่างๆ ทั้งหมดนี้ทำให้ Shopee กลมกลืนเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันได้สำเร็จ

ในปี 2016 ที่ผ่านมา Shopee มียอดการดาวโหลดสูงถึง 25 ล้านครั้ง โตเป็น 4 เท่านับจากปี 2015 มียอดการติดตามในโลกโซเชียลมากกว่า 2 ล้านคน มียอดการสั่งซื้อโดยเฉลี่ยสินค้า 1,595 ชิ้นต่อคน ซึ่งสินค้าที่มีคนสั่งซื้อมากที่สุดสำหรับผู้หญิงคือ “ชุดชั้นในกระชับสัดส่วน” ในขณะที่ผู้ชายนิยมซื้อ “ฟิลม์กันรอยสมาร์ทโฟน” และมียอดการแชตในกล่องข้อความมากถึง 9,805 ข้อความ

Shopee เป็นบริษัทมาจากประเทศสิงคโปร์ ดูแลโดยบริษัท Garena ซึ่งมีผู้ก่อตั้งคือ Forrest Li ใช้บริษัท SEA Ltd. ในการถือหุ้น 99% ในบริษัท Garena ก่อนที่ประกาศขายหุ้นให้กับกลุ่ม Tencent Holdings Ltd. ยักษ์ใหญ่ของจีน 40% Netflix

Garena ก่อตั้งเมื่อปี 2009 ที่ประเทศสิงคโปร์โดย Forrest Li และกลุ่มเพื่อนของเขา มีจุดประสงค์ในการก่อตั้ง คือ ให้บริการเกมออนไลน์ระดับโลก อีกทั้งยังเป็นผู้พัฒนาโมบายแอปพลิเคชั่นที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ Forrest Li ได้ตั้งชื่อบริษัทนี้ว่า “Garena” ซึ่งเป็นการผสมคำของคำว่า “Global Arena”

ตั้งแต่ก่อตั้งมา Garena ได้เติบโตมาอย่างยิ่งใหญ่ และเป็นผู้นำในการให้บริการแพลตฟอร์ม ออนไลน์, มือถือ, และการสื่อสารในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ไต้หวัน, และฮ่องกง

นอกจากนี้ Garena ยังเป็นผู้ให้บริการเกมออนไลน์ที่เป็นเจ้าดังในประเทศไทยแล้ว พวกเขายังเป็นเจ้าของแอปพลิเคชั่น TalkTalk ระบบสื่อสารด้วยภาพและเสียงแบบเรียลไทม์ และต่อมาในปี 2013 ได้เปิดตัว BeeTalk อีกด้วย กระทั่งเปิดตัว Shopee ที่กลายเป็นแพลตฟอร์มช็อปปิ้งแข่งขันกับ Lazada ของจีน และ 11 streets ของเกาหลีใต้ ไม่เพียงแค่นั้น พวกเขายังพัฒนาแอปพลิเคชั่น Wallet กระเป๋าเงินบนโลกอินเทอร์เน็ตอย่าง Airpay ที่เริ่มเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยอย่างจริงจังแล้ว

อีกทั้งเมื่อไม่นานมานี้ SEA Ltd. ได้ประกาศจะขายหุ้น IPO ในตลาดหุ้น New York Stock Exchange โดยมี 3 ยักษ์ใหญ่อย่าง Goldman Sachs Group Inc, Morgan Stanley และ Credit Suisse Group AG เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน จดทะเบียนบริษัทเข้าตลาดหุ้น คาดว่าจะระดมเงินได้มากถึง 696 ล้านเหรียญสหรัฐ

Morgan Stanley ชี้แจงว่าการระดมทุนครั้งนี้จะเป็นบวกกับกลุ่มธุรกิจ shopping platform ในกลุ่มธุรกิจของ Garena เป็นอย่างมาก เพราะการลงทุนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ Garena เป็นธุรกิจที่มีการโตเร็ว และแย่งส่วนแบ่งจาก Alibaba Group ได้ไม่ยาก ปัจจุบันธุรกิจของ Garena จะขาดทุนอยู่ แต่จะค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้น

บทความแนะนำ