application สำหรับยุคสมัยที่เทคโนโลยีก้าวไปไกลแล้ว คำว่า Web หรือ Web application คงเป็นคำที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายไม่ว่าจะเป็นช่วงอายุใดก็ตาม โดยเฉพาะเด็กรุ่นใหม่ที่เติบโตมาพร้อมกับอินเทอร์เน็ต แต่รู้หรือไม่ว่ามันยังมีสิ่งที่เรียกว่า Web Application อยู่ด้วย และหลายคนก็ยังสับสนอยู่ว่า มันแตกต่างจากเว็บไซต์ปกติทั่วไปยังไงบทความนี้จึงจะมาไขข้อข้องใจว่า Website
Web Application แตกต่างกับ Website ธรรมดาๆ อย่างไร แล้วที่เราใช้อยู่ทุกๆ วัน มันคือแบบไหนกันแน่
ความหมายที่แท้จริงของ Web Application
application Web Application คือแอปที่ถูกเขียนขึ้นมาให้สามารถเปิดใช้ใน Web browser ได้โดยตรง ไม่ต้องโหลด Application แบบเต็มๆ ลงเครื่อง ทำให้โดยรวมแล้วกินทรัพยากรค่อนข้างต่ำ สามารถเปิดใช้งานได้ไว
แน่นอนว่าภายในตัว Web Application มักถูก Optimize ให้มีการทำงานรวดเร็วกว่าการเปิด Application แบบปกติ จึงมีหน้าตาที่เป็นมิตรและใช้งานค่อนข้างง่าย ซึ่งในปัจจุบันมี Web Application ที่หลากหลาย ทั้งในรูปแบบใช้งานระดับโลก ระดับมหาวิทยาลัย ไปจนถึงระดับบริษัท ก็มีเว็บแอปเป็นของตัวเองเช่นกัน
ความเหมือนที่แตกต่างของ Website และ Web Application Website
ทำไมคนจึงเข้าใจผิดว่า Website และ Web Application นั้นเหมือนกัน ?
สิ่งที่สังเกตได้ง่ายที่สุดคือ ทั้งสองอย่างล้วนเปิดจากที่เดียวกันครับ ซึ่งนั่นก็คือ Web Browser ถูกไหมครับ? ดังนั้นถ้าคุณเกิดการสับสนในกรณีนี้ก็ไม่แปลกแต่อย่างใด แต่หารู้ไม่ว่า Website ในตอนนี้ล้วนถูกปรับเปลี่ยนให้เป็น Web Application กันเกือบหมดแล้ว Web application
ลองมาดูดีกว่าครับว่าความแตกต่างของ Website และ Web Application มีอะไรบ้าง
- การใช้งาน
Website : คือหน้าเพจที่ถูกจัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูล สารสนเทศ และมีการเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเว็บเพจย่อยๆ ต่างๆ ตามแต่รูปแบบของเว็บไซต์นั้นได้กำหนดและตั้งค่าไว้ โดยเว็บไซต์นี้เน้นให้ผู้คนเข้ามา “ดู” เป็นหลัก
Web Application : ทำหน้าที่คล้ายกับเว็บไซต์ แต่จะสามารถเป็นแอปพลิเคชั่นได้ด้วย คือเน้นให้ผู้คนเข้ามา “ใช้งาน” มากกว่าดู เช่นเว็บแอปสำหรับคิดเลข เว็บแอปสำหรับจับเวลา เว็บแอปสำหรับแปลภาษา โดยส่วนมากแล้วจะมีความสะอาด รวดเร็ว และสบายตากว่าเว็บไซต์ปกติ เนื่องจากเน้นใช้งานในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นหลัก
หน้าตาภายนอก
Website : มักเน้นในความสวยงาม ดึงดูด บางเว็บก้มีความซับซ้อนบ้างพอประมาณ มีลิงค์ต่างๆ เพื่อให้คนที่เข้ามาสามารถเปิดดูเว็บเพจภายในเว็บไซต์ได้
Web Application : มุ่งไปที่ความเรียบง่าย สะอาด บางครั้งหน้าเว็บแอปพลิเคชั่นก็จะแสดงโปรแกรมและฟังก์ชั่นต่างๆ ขึ้นมาตรงๆ แบบไม่ตกแต่งอะไรมาก เนื่องจากต้องการให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานมันได้อย่างรวดเร็วที่สุด - การทำงานเบื้องหลัง Web application
Website : โดยรวมแล้วหน้าเว็บไซต์แต่ละหน้ามักมีความซับซ้อนค่อนข้างต่ำ จะหนักไปในเชิงการตกแต่งและจัดรูปแบบให้เหมาะสมกับความชอบของผู้เข้าชม
Web Application : มีความซับซ้อนและยุ่งยาก อาจต้องใช้ผู้มีเชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อจัดการและออกแบบแอปพลิเคชั่น รวมถึงฟังก์ชั่นภายในให้ใช้งานได้ง่าย จะออกแบบอย่างไรให้สิ่งที่ซับซ้อน กลายเป็นสิ่งที่คนไม่เคยใช้ก็ ‘ใช้งานได้’
เพียงเท่านี้คงทำให้หลายคนคลายความสงสัย และพอจะเข้าใจระดับหนึ่งแล้วนะครับว่าทั้งสองอย่างนี้แตกต่างกันแบบไหน
การทำงานของ Web Application
หากไม่ใช่คนทำงานเบื้องหลังล่ะก็อาจเข้าใจว่าการสร้าง Web Application นั้นง่าย หลังจากทราบความเหมือนและต่างระหว่าง Web Application และ Website แล้ว เราลองมาเจาะลึกกันดูดีกว่าว่า ภายใต้ความสะดวกสบายในหน้าตาเรียบง่ายนั้นมีเบื้องหลังอย่างไร Web application
- ส่วนประกอบในการทำงาน
โดย Web application จะมีส่วนประกอบการทำงานหลักๆ ที่เห็นกันได้ 4 ส่วน - Web Application : ตัว Web Application ที่ทำหน้าที่เป็นด่านแรกสุดในการรับข้อมูลจากฝั่งผู้ใช้งาน ซึ่งจะมีการสร้างหรือดัดแปลงการใช้งานไปได้หลากหลายทาง เช่น
- การคำนวณค่าต่างๆ
- ระบบ Membership
- ระบบซื้อขายแบบ eCommerce
- ระบบ Payment Gateway (การชำระเงิน)
- ระบบแผนที่ หรือมุมกล้อง 360 องศา
- ระบบเก็บข้อมูล CRM
และอีกหลายจุดประสงค์ ขึ้นอยู่กับว่าคนสร้างต้องการให้ตัวเว็บแอปนั้นมีการใช้งานไปในทิศทางใด Website
เราสามารถสร้างโปรแกรมและระบบได้ทุกระบบตามความต้องการเลยครับ
Web Browser : ถ้าพูดง่ายๆ คือเครื่องมือในการเปิด Web Application ซึ่งมีหลากหลายตัวเลือก เช่น Google Chrome Firefox หรือ Microsoft Edge เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันเบราเซอร์เหล่านี้สามารถทำงานได้ทั้งบนคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟน
Web Server : ระบบ Server ที่ให้บริการแก่บรรดาเว็บไซต์และเว็บแอปพลิเคชั่นต่างๆ ทำหน้าที่รับส่งข้อมูลจากฝั่งผู้ใช้งานและฝั่ง Web Application ตัวอย่างที่ได้พบบ่อยๆ คือ Apache Webserver และ IIS Web server
Database : ฐานข้อมูลจากฝั่งผู้ให้บริการ ซึ่งจะทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่จำเป็น โดยในบางครั้งมีการทำ Database Server แยกออกมาต่างหาก เพื่อความสะดวกในการควบคุมดูแล และความปลอดภัยของตัว Web Application Website
หลักการทำงาน
ผู้ใช้งานจะใช้งาน Web Browser เพื่อทำการใช้งาน Web Application ซึ่งตัวเว็บแอปจะทำการดึงข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้งานผ่าน Web Server และทาง Web server ก็อาจมีการดึงข้อมูลที่จำเป็น เช่นข้อมูลผู้ใช้ ข้อมูลลูกค้าผ่าน Database อีกทีหนึ่ง